บางครั้งเจ้าของรถกับคนใช้รถทุกวันอาจจะเป็นคนละคนกัน แต่เมื่อไหร่ที่คุณนำรถของผู้อื่นไปใช้แล้วบังเอิญเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์
อาจจะมีคำถามตามมาว่า ไม่ใช่เจ้าของรถเบิกพ.รบ.ได้ไหม ยืมรถทางบ้านมาขับ ยืมรถเพื่อนมาใช้แล้วเกิดอุบัติเหตุจะสามารถเบิกพ.ร.บ.ได้หรือไม่ เรามาหาคำตอบไปพร้อมกันเลยค่ะ
พ.ร.บ. หรือ พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 โดยมีวัตถุประสงค์เป็นประกันภาคบังคับที่กฎหมายกำหนดให้ยานพาหนะที่จดทะเบียนกับกรมขนส่งทางบกทุกประเภทต้องมีไว้
เพื่อเป็นหลักประกันให้กับผู้ขับขี่ว่าจะได้รับสิทธิคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลเมื่อเกิดอุบัติเหตุ โดยผู้ประสบภัยนั้นไม่ว่าจะเป็นผู้ขับขี่รถ ผู้โดยสาร หรือบุคคลภายนอก ก็สามารถเบิกพ.ร.บ.ได้ โดยที่ยังไม่ต้องพิสูจน์ความผิดดังนี้
การจ่ายค่าเสียหายของบริษัทประกันภัย จะจ่ายให้กับผู้เสียหายที่แท้จริงเท่านั้นแต่หากมีการมอบอำนาจให้ผู้อื่นมากระทำการแทนก็สามารถทำได้ โดยแนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจมาด้วย แต่หากผู้ประสบภัยเสียชีวิต บริษัทประกันภัยจะจ่ายเช็คให้กับทายาทโดยธรรมตามกฎหมายเท่านั้น
ทั้งนี้จะเห็นว่า พ.ร.บ. คือการทำประกันรถยนต์ชนิดหนึ่งซึ่งถือเป็นการทำประกันรถยนต์ภาคบังคับ ทำให้รถทุกคันที่ต่อพ.ร.บ.จะได้รับความคุ้มครองไม่ว่าบุคคลคนนั้นจะเป็น คนขับ ผู้โดยสาร หรือบุคคลภายนอก ก็สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลได้ ดังนั้นจึงสามารถตอบคำถามที่ว่า ไม่ใช่เจ้าของรถเบิกพ.ร.บ.ได้ไหม ?
คำตอบคือ ไม่ใช่เจ้าของรถเบิกพ.ร.บ.ได้ เพราะ พ.ร.บ.คือหลักประกันให้กับผู้ขับขี่ว่าจะได้รับสิทธิคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลเมื่อเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนทั้งหมด null
ไม่ว่าจะเป็นคนขับ ผู้โดยสาร บุคคลภายนอก หรือคนเดินเท้า ก็สามารถเบิกพ.ร.บในส่วนของค่ารักษาพยาบาล และเงินชดเชยต่าง ๆ ได้ตามที่เราได้กล่าวไปแล้วข้างต้น ทั้งนี้การทำประกันรถยนต์จะช่วยเพิ่มความคุ้มครองที่เพิ่มเติมจากการทำพ.ร.บ.เราจึงอยากแนะนำให้ทำประกันรถยนต์ติดไว้สักแผน ซื้อง่าย คุ้มครองทั้งคน รถ และความเสียหายต่างๆได้ คงไม่มีใครอยากให้เกิดอุบัติเหตุหรอกใช่มั้ยคะทุกคน เพราะฉะนั้นขับรถอย่างระมัดระวังกันนะคะ
ข้อมูลจาก : เฮงลิสซิ่ง