การถอดหน้ากากอนามัยเป็นนโยบายผ่อนปรนของหลายประเทศที่เริ่มประกาศให้โรคโควิด-19 เป็นโรคประจำถิ่น โดยแต่ละประเทศมีเงื่อนไขและข้อกำหนดที่แตกต่างกัน เช่น ประชากรในประเทศต้องฉีดบูสเตอร์โดสมาแล้วเกินร้อยละ 50 หรือมีตัวชี้วัดว่าประชาชนเข้าใจการเว้นระยะห่างทางสังคมเพื่อป้องกันการติดเชื้อทางเดินหายใจที่ถูกต้อง
สาธารณสุขเตรียมปรับมาตรการถอดหน้ากากอนามัยในพื้นที่นำร่อง แต่ยังคงให้ใส่ไว้ใน 3 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้ป่วยหรือกลุ่มเสี่ยง, ผู้ที่อยู่ในสถานที่ปิดและอากาศไม่ถ่ายเท และการเข้าร่วมกิจกรรมคนจำนวนมาก
ถอดหน้ากาก 31 จังหวัด ได้แก่ พื้นที่เฝ้าระวัง (สีเขียว) 14 จังหวัด และพื้นที่นำร่องท่องเที่ยว (สีฟ้า) 17 จังหวัด
ถอดหน้ากาก 14 จังหวัด ในพื้นที่เฝ้าระวัง (สีเขียว) ได้แก่ ชัยนาท, พิจิตร, อ่างทอง, น่าน, มหาสารคาม, ยโสธร, นครพนม, ลำปาง, อำนาจเจริญ, บุรีรัมย์, ตราด, สุราษฎร์ธานี, สุรินทร์ และอุดรธานี
ถอดหน้ากาก 17 จังหวัด ในพื้นที่นำร่องท่องเที่ยว (สีฟ้า) ได้แก่ กรุงเทพมหานคร, กระบี่, กาญจนบุรี, จันทบุรี, ชลบุรี, เชียงใหม่, เชียงราย, นครราชสีมา, นนทบุรี, นราธิวาส, ปทุมธานี, ประจวบคีรีขันธ์, พังงา, เพชรบุรี, ภูเก็ต, ระยอง และสงขลา
ในการเสนอที่ประชุม ศบค. ในพื้นที่นำร่องถอดหน้ากากอนามัยนั้น ตามแผนคือเริ่มใช้ในพื้นที่ที่มีความพร้อม ยังไม่ฟันธงว่าเป็นวันใดในเดือนมิถุนายน 2565 ต้องรอมติจากที่ประชุม ศบค. และการประกาศลงในพระราชกิจจานุเบกษาเพื่อบังคับใช้อย่างเป็นทางการทั่วประเทศ
บางประเทศมีนโยบายที่เข้าใจถึงการปรับตัวในชีวิตประจำวันเข้ากับสถานการณ์ความรุนแรงของโรคโควิด-19 ที่น้อยลง ผ่อนปรนให้ประชาชนถอดหน้ากากอนามัยได้ในที่กลางแจ้ง แต่ต้องอยู่ภายใต้กฎเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อด้วย ได้แก่
สหรัฐอเมริกา
จาเมกา
สาธารณรัฐโดมินิแกน
อารูบา
มัลดีฟส์
บัลแกเรีย
โครเอเชีย
สาธารณรัฐเช็ก
เดนมาร์ก
เอสโตรเนีย
ฟินแลนด์
ฝรั่งเศส
ฮังการี
ไอซ์แลนด์
ไอร์แลนด์
ลิทัวเนีย
เนเธอร์แลนด์
นอร์เวย์
โปแลนด์
โรมาเนีย
สโลวีเนีย
สวีเดน
สวิตเซอร์แลนด์
อิตาลี
สิงคโปร์
อย่างไรก็ดีการถอดแมสก์นั้นยังไม่เป็นที่ยอมรับในระบบขนส่งสาธารณะแบบปิด บางประเทศยังคงกำหนดให้ผู้โดยสารต้องสวมแมสก์ตลอดเวลาที่เดินทางบนเครื่องบิน เช่น เบลเยียม, ลัตเวีย, มอนเตอริโก, โปรตุเกส และสเปน
ข้อมูลจาก : กระทรวงสาธารณสุข