ทำไมบางครั้งขอสินเชื่อธนาคารแล้วไม่ได้ กู้เงินยากมาก ยิ่งไปกว่านั้นยังโดนปฏิเสธ เพราะ เครดิตบูโร อีก แล้วแบบนี้ต้องทำยังไง
เครดิตบูโร หรือ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด เป็นสถาบันที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการจัดเก็บข้อมูล “บัญชีสินเชื่อและประวัติการชำระสินเชื่อทุกประเภท” ของบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล ซึ่งส่งมาจากสถาบันการเงิน
จะรายงานเฉพาะหนี้ที่ไปขอกู้ยืมมาจากสถาบันการเงิน ซึ่งก็คือพวกสินเชื่อต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น สินเชื่อบ้าน สินเชื่อรถ สินเชื่อส่วนบุคคล เป็นต้น ซึ่งต้องเป็นสินเชื่อที่ได้รับการอนุมัติและมีประวัติการชำระหนี้เท่านั้น
ส่วนค่าใช้จ่ายส่วนตัวอื่นๆ เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ และค่าโทรศัพท์ เหล่านี้ จะไม่มีประวัติอยู่ในเครดิตบูโร
เวลาชำระหนี้แต่ละรายการ ข้อมูลจะถูกบันทึก หากค้างชำระไม่เกิน 30 วัน แล้วจ่ายทันเวลา
ถือว่ารายการชำระยังเป็น “สถานะปกติ” โดยปรากฏตัวเลขกำกับสถานะดังกล่าวเป็น 0
แต่หากค้างชำระเกินกว่า 30 วัน ก็จะมีการบันทึกรายการเป็นระดับ ตั้งแต่ 1 ไล่ไปจนถึงการค้างชำระ 271 ถึง 300 วัน ก็จะบันทึกรายการเป็นระดับ 9
และหากมากเกินกว่า 300 วัน รายการดังกล่าวก็จะถูกระบุเป็น F ซึ่งสถานะเหล่านี้ ทางสถาบันการเงินต่าง ๆ จะนำมาใช้เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาปล่อยสินเชื่อ
แต่จริง ๆ แล้วนั้นลักษณะการจัดเก็บข้อมูลของเครดิตบูโร ไม่ได้จัดเก็บเป็นบัญชีดำ โดยเครดิตบูโร ยืนยันว่า บริษัทไม่เคยจัดทำและขึ้นบัญชีแบล็กลิสต์กับใครไว้ในฐานข้อมูล และในรายงานข้อมูลเครดิตบูโรก็ไม่มีคำว่า “แบล็กลิสต์”
แต่เครดิตบูโรจะจัดเก็บข้อมูลตามความจริง หากจ่ายแล้วก็บอกว่า “ปกติ” หรือ “ไม่ค้างชำระ” แต่ถ้ายังไม่จ่าย ก็บอกว่า “ค้างชำระ’” ไม่ว่าจะชำระตรงกำหนดหรือไม่ก็ตาม ถ้าเคลียร์หรือชำระและปิดบัญชีไปแล้ว ทางเครดิตบูโรก็จะระบุตามความจริง เพียงแต่ข้อมูลจะยังไม่ถูกลบออกไปจนกว่าจะถึงกำหนดที่กฎหมายให้เก็บได้ 3 ปี
การชำระหนี้ไม่ว่าจะเป็น ค่าบัตรเครดิต หรือธุรกรรมใด ๆ ถ้ามียอดค้างชำระเพียงนิดเดียว เช่น 25 สตางค์ ก็สามารถขึ้นสถานะค้างชำระในเครดิตบูโรได้
ยกเว้น มีการจ่ายค่าบัตรเครดิตในยอดเรียกเก็บขั้นต่ำ สถานะในการชำระของเครดิตบูโรถือว่า “เป็นปกติ”
เพราะเจ้าหนี้เป็นผู้กำหนดยอดขั้นต่ำที่ต้องชำระ โดยที่เจ้าหนี้เองยังสามารถคิดดอกเบี้ยจากการชำระขั้นต่ำซึ่งมีอัตราดอกเบี้ยสูงมากได้ต่อไป
เครดิตบูโรจะรายงานตามผลจริงที่เกิดขึ้น และไม่สามารถย้อนกลับไปแก้ไขประวัติเดิมได้
อย่างไรก็ตาม ข้อมูลการค้างชำระเดิมจะไม่ได้ถูกลบออกไป จนกว่าข้อมูลชุดนั้นจะถูกลบออกไปตามระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด คือ 3 ปีหรือ 36 เดือน
หากถูกธนาคารปฏิเสธให้กู้เงินโดยอ้างว่าติดเครดิตบูโร สามารถขอตรวจเครดิตบูโรได้ที่ศูนย์ตรวจเครดิตบูโรทุกแห่ง ภายใน 30 วัน นับจากวันที่หนังสือแจ้งปฏิเสธสินเชื่อ โดยไม่มีค่าใช้จ่าย
ทั้งนี้ การพิจารณาสินเชื่อเป็นดุลยพินิจของสถาบันการเงิน ซึ่งขึ้นอยู่กับหลักเกณฑ์การพิจารณาสินเชื่อ หรือนโยบายสินเชื่อของแต่ละสถาบันการเงินในขณะนั้น ซึ่งอาจแตกต่างกันไปในสถาบันการเงินแต่ละแห่ง
ข้อมูลเครดิตเป็นเพียงส่วนประกอบส่วนหนึ่งในการนำไปประกอบการพิจารณาสินเชื่อเท่านั้น นอกเหนือจากข้อมูลจากแหล่งอื่น ที่สถาบันการเงินใช้ประกอบการพิจารณา เช่น รายได้ รายจ่าย อาชีพ ประวัติการออม อายุงาน หรือ หลักทรัพย์ค้ำประกัน เป็นต้น
สิ่งที่จําเป็น ต้องรู้และเข้าใจ เมื่อถูกปฏิเสธ หรือ ไม่ให้สินเชื่อจากสถาบันการเงิน โดยมีการอ้างว่าเป็นเพราะ “เครดิตบูโร” นั่นคือ กฏหมายที่คุ้มครองดูแล ได้แก่ พ.ร.บ. การประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิต พ.ศ. 2545
ได้กำหนดการคุ้มครองให้ความเป็นธรรมแก่เจ้าของข้อมูล มีสิทธิที่จะได้รับทราบเหตุแห่งการปฏิเสธคำขอสินเชื่อหรือบริการ จากสถาบันการเงิน ในกรณีที่สถาบันการบินใช้ข้อมูลของบริษัทข้อมูลเครดิต มาเป็นเหตุแห่งการปฏิเสธค่าขอสินเชื่อหรือบริการ เมื่อถูกปฏิเสธ/ไม่ให้สินเชื่อ โดยอ้างว่าเป็นเพราะ “เครดิตบูโร”
ผู้ขอสินเชื่อสามารถยื่นคำขอตรวจเครดิตบูโรกรณีถูกปฏิเสธสินเชื่อได้ที่ศูนย์ตรวจเครดิตบูโร ภายใน 30 วันนับจากวันที่ในหนังสือแจ้งปฏิเสธสินเชื่อ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย พร้อมยื่นเอกสารประกอบดังนี้
หากปรากฏว่าสถาบันการเงินที่เป็นสมาชิกของบริษัทได้ปฏิเสธสินเชื่อแก่ลูกค้าโดยเหตุเพราะการตรวจสอบข้อมูลเครดิตจากบริษัท สถาบันการเงินแห่งนั้นจะต้องมีหนังสือปฏิเสธสินเชื่อให้แก่ลูกค้า พร้อมแจ้งที่อยู่ของบริษัทข้อมูลเครดิตที่เป็นสถาบันการเงินที่ใช้ตรวจสอบข้อมูล
และสามารถนำหนังสือปฏิเสธสินเชื่อที่ได้จากสถาบันการเงินไปขอตรวจสอบข้อมูลเครดิตของตนเองได้ที่บริษัทข้อมูลเครดิตโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ได้ที่
สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้จากบริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัดที่ Call Center 0-2643-1250
สำหรับข้อมูลเครดิตแบบสรุป จะประกอบด้วยข้อมูลจำนวนบัญชีสินเชื่อ ที่จะแสดงจำนวนบัญชีทั้งหมด บัญชีที่เปิดอยู่ บัญชีที่ปิดแล้ว วงเงินสินเชื่อรวม และยอดหนี้คงเหลือรวม
รวมทั้งจะมีประเภทบัญชีสินเชื่อ ได้แก่ บัตรเครดิต สินเชื่อบุคคล บ้าน เช่าซื้อ อื่น ๆ และยอดหนี้คงเหลือแต่ละประเภทบัญชีอีกด้วย
ทั้งนี้ รายงานข้อมูลเครดิตแบบสรุป เป็นข้อมูลเบื้องต้นสำหรับเจ้าของข้อมูล เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนขอสินเชื่อ เพื่อตรวจสอบจำนวนบัญชีสินเชื่อ และยอดหนี้ที่ถูกจัดเก็บไว้ในเครดิตบูโรเท่านั้น ไม่สามารถนำไปอ้างอิงต่อบุคคลใดได้
กรณีที่ตรวจข้อมูลเครดิตของตนเองผ่านช่องทางต่างๆ ที่เครดิตบูโรให้บริการนั้น จะตรวจเครดิตบูโรกี่ครั้งก็ไม่มีผลต่อการพิจารณาขอสินเชื่อของธนาคารหรือสถาบันการเงินแต่อย่างใด เนื่องจากเป็นสิทธิพื้นฐานในการเข้าถึงข้อมูลเครดิตของตนเองนั่นเอง
ข้อมูลในเครดิตบูโรเป็นเพียงการบอกสถานะการชำระเงินรายการต่าง ๆ ของลูกหนี้ แต่การแปลความและประเมินความเสี่ยงในการปล่อยสินเชื่อ จำเป็นต้องอาศัยการวิเคราะห์ข้อมูลเครดิตบูโร เพื่อให้ได้ บทสรุปพฤติกรรมทางการเงินของลูกหนี้ที่แม่นยำที่สุด จึงเป็นที่มาของการนำเอารายละเอียดจากเครดิตบูโร ไปคำนวณ “เครดิตสกอริง” หรือก็คือ คะแนนเครดิต เพื่อใช้ในการประเมินโอกาสในการชำระหนี้คืนของลูกหนี้
หากพบว่าข้อมูลเครดิตของตนเองไม่ถูกต้อง หรือมีการรายงานข้อมูลเครดิตผิดพลาด ควรแจ้งให้สถาบันการเงินที่เป็นเจ้าหนี้ของเราทราบ นอกจากนี้ ตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิต พ.ศ. 2545
ลูกหนี้ยังมีสิทธิที่จะยื่นคำขอตรวจสอบ และขอแก้ไขข้อมูลของตนกับเครดิตบูโรได้ โดยติดต่อได้ที่ศูนย์ตรวจเครดิตบูโร โดยมีขั้นตอนการดำเนินการ ดังนี้
– สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรอื่นที่ออกโดยหน่วยงานราชการ พร้อมลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง – สำเนารายงานข้อมูลเครดิตฉบับที่ต้องการแก้ไข (ถ้ามี)
– เอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี)
– สำเนาหนังสือรับรองนิติบุคคลที่มีอายุไม่เกิน 3 เดือน ซึ่งผู้มีอำนาจลงนามรับรองความถูกต้องพร้อมประทับตราบริษัท (ถ้ามี)
– สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของกรรมการผู้มีอำนาจ พร้อมลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง
– สำเนารายงานข้อมูลเครดิตฉบับที่ต้องการแก้ไข (ถ้ามี)
– เอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี)
เป็นยังไงกันบ้าง ข้อมูลเครดิตบูโรที่พี่ทุยเอามาฝากวันนี้ ยังไงพี่ทุยเป็นกำลังใจให้คนยื่นขอสินเชื่อทุกคนให้ผ่านฉลุยน้าาาา
ข้อมูลจาก : moneybuffalo