การเงิน คือ สิ่งที่ผู้ประกอบการควรให้ความสำคัญและต้องวางแผนอย่างละเอียด เพราะถ้าการเงินมีการบริหารจัดการที่ไม่ถูกต้อง อาจทำให้ธุรกิจประสบปัญหาได้ เราจึงขอยกตัวอย่างการจัดการการเงินที่ผิดวิธี 5 แบบ พร้อมวิธีแก้ไขเพื่อให้ผู้ประกอบการระมัดระวังและวางแผนการเงินได้ดีมากยิ่งขึ้น
สำหรับผู้ประกอบการที่ไม่มีเงินเก็บ หรือเงินสดส่วนตัวในการลงทุนธุรกิจ การเลือกใช้บัตรเครดิตหรือบัตรกดเงินสดเป็นตัวเลือกไม่เหมาะกับการหาทุน เพราะว่าบัตรเหล่านี้ ถึงแม้ว่าจะขออนุมัติง่ายกว่าสินเชื่อเพื่อธุรกิจ แต่ผู้ประกอบการมักลืมคิดว่าอัตราดอกเบี้ยของการใช้บัตรเครดิตหรือบัตรกดเงินสดนั้นสูงพอสมควร (สูงสุดถึง 28% ต่อปี)
เพื่อป้องกันปัญหาการเงินนี้ ผู้ประกอบการควรเลือกประเภทสินเชื่อให้ถูกต้องและเหมาะสมกับกิจการของตนเอง ยกตัวอย่างเช่น สินเชื่อ เพียร์ พาวเวอร์ เหมาะกับผู้ประกอบการที่จดทะเบียนมาแล้วมากกว่า 2 ปีขึ้นไป และไม่ใช้หลักทรัพย์ค้ำประกัน (uncollateralized loan) เหมาะกับกิจการที่ไม่มีทรัพย์สินหรือที่ดิน
นอกจากนี้ สินเชื่อ เพียร์ พาวเวอร์ ยังเหมาะกับกิจการที่ชอบความรวดเร็ว เนื่องจากใช้เวลาในการพิจารณาสินเชื่อเพียง 3 วันเท่านั้น ขณะที่สถาบันการเงินทั่วไป ใช้เวลาพิจารณาสินเชื่อราว 30 วัน ส่วนเรื่องการผ่อนชำระจ่ายเงินต้น สามารถจ่ายเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยคืน เพียร์ พาวเวอร์ ได้ตามข้อตกลง มีทั้งผ่อนชำระเงินกู้เป็นรายเดือน โดยการหักบัญชีอัตโนมัติ หรือกำหนดวันผ่อนชำระเงินกู้และเปลี่ยนแปลงวันผ่อนชำระเงินกู้ได้ตามต้องการ ถ้าไม่อยากผ่อนชำระนาน เมื่อมีเงินก้อนสามารถโปะได้ทันที โดยไม่เสียค่าธรรมเนียม
ผู้ประกอบการหลายรายพบกับปัญหาทางการเงินเพราะไม่ได้คิดต้นทุนแฝงในธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็น จำนวนพนักงาน ค่าใบอนุญาตต่างๆ ค่าอุปกรณ์สำนักงาน ค่าเครื่องจักรและค่าซ่อมบำรุง ค่าจ้างงานบุคคลภายนอก ค่าเดินทางนอกสถานที่ ฯลฯ ซึ่งค่าใช้จ่ายเหล่านี้ เป็นต้นทุนแฝงที่จำเป็นไม่ต่างกับต้นทุนอื่นๆ เพราะฉะนั้น ผู้ประกอบการควรตรวจสอบต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายให้ละเอียด พร้อมกับการวางแผนการเงิน และกันเงินบางส่วนไว้ในกรณีฉุกเฉินด้วย ไม่เช่นนั้น ธุรกิจของเราอาจเกิดสภาวะการเงินบกพร่อง และระบบการทำบัญชีมีปัญหาได้
ผู้ประกอบการรายเล็กและรายย่อยมักมีปัญหาในช่วงแรกของการทำธุรกิจคือ การใช้เงินส่วนตัวและเงินบริษัทปะปนกันโดยไม่แยกบัญชีให้ชัดเจน ผลที่ตามมาคือ ผู้ประกอบการไม่รู้ว่ากำไรและรายจ่ายที่แท้จริงเป็นจำนวนเท่าไร ซึ่งส่งผลต่อเอกสารทางบัญชี และการคำนวณต้นทุนและกำไรที่ผิดพลาดได้ สร้างปัญหาให้กับระบบการเงิน และธุรกิจได้ ดังนั้น ผู้ประกอบการควรแยกบัญชีส่วนตัวกับกิจการออกจากกัน เพื่อลดปัญหาเรื่องค่าใช้จ่ายและความซ้ำซ้อนของการทำบัญชี
ปัญหาทางการเงินลักษณะนี้ มักเกิดขึ้นกับธุรกิจครอบครัวเพราะผู้ประกอบการส่วนหนึ่งไว้ใจให้ญาติช่วยดูแลเรื่องการเงินทั้งๆ ที่ญาติก็ไม่ได้มีความรู้และประสบการณ์ด้านการเงินมาก่อน ทำให้ไม่สามารถบริหารการเงินภายในบริษัทได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือการจ้างพนักงานที่ไม่มีความถนัดในงานนั้นโดยตรง ซึ่งทำให้การทำงานขาดประสิทธิภาพ วิธีแก้ไขคือ หากผู้ประกอบการไม่มีความรู้ความสามารถด้านใด ก็ให้เลือกพนักงานที่มีประสบการณ์ตรงและมีความสามารถด้านนั้นมาทำงานแทน เพื่อให้การบริหารการเงินและองค์กรโดยรวมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะพนักงานที่ดูแลด้านบัญชีและการเงิน ที่ควรเลือกจากคนมีประสบการณ์แล้วสำหรับบริษัทขนาดเล็ก
ค่าใช้จ่ายคงที่ คือ ค่าใช้จ่ายที่ไม่เพิ่มหรือลดไปตามการผลิต ผู้ประกอบการจะผลิตสินค้ากี่ชิ้น ก็ยังต้องจ่ายต้นทุนนี้ในราคาเท่าเดิม เช่น ค่าเช่าโรงงาน ค่าจ้างพนักงาน เป็นต้น
หากผู้ประกอบการไม่คำนึงถึงค่าใช้จ่ายคงที่ที่ไม่จำเป็น เช่น เช่าออฟฟิศขนาดใหญ่เกินขนาดกิจการ หรือ จ้างพนักงานเยอะเกินไป อาจทำให้รายจ่ายในแต่ละเดือนบานปลายได้ เพราะฉะนั้นผู้ประกอบการควรวางแผนธุรกิจและคิดให้ดีว่าค่าใช้จ่ายอะไรที่จำเป็นกับธุรกิจและค่าใช้จ่ายอะไรที่สามารถตัดออก เพื่อเป็นการลดค่าใช้จ่ายคงที่ที่ไม่จำเป็น
การเงิน คือส่วนที่สำคัญของธุรกิจ หากผู้ประกอบการไม่วางแผนการเงิน หรือคำนวณค่าใช้จ่ายต่างๆ อย่างละเอียด อาจเกิดสภาพการเงินติดขัดได้ โดยเฉพาะเรื่องสินเชื่อ หากผู้ประกอบการเลือกสินเชื่อที่มีอัตราดอกเบี้ยสูง ค่าใช้จ่ายในกิจการยิ่งสูงตาม แต่ถ้าผู้ประกอบการสนใจอยากขอสินเชื่อที่มีอัตราดอกเบี้ยเหมาะสมกับกิจการ ไม่ก่อให้เกิดปัญหาตามมา เพียร์ พาวเวอร์ หวังว่าจะเป็นตัวเลือกแรกที่ท่านสนใจนะคะ
ข้อมูลจาก : peerpower