วันนี้อยากชวนเจ้าของธุรกิจที่ยังคิดโลโก้ให้ตัวเองไม่ได้ หรือกำลังจะเริ่มต้นทำธุรกิจ และมองหาโลโก้แบบที่ใช่มาดูทริกง่าย ๆ ในการออกแบบโลโก้ให้เป๊ะปัง จำได้แม่น
เป็นตัวแทนแบรนด์ในการสร้างการจดจำ เช่น โอ้กะจู๋ เอาชื่อและตัวการ์ตูนเจ้าของมาใส่ในโลโก้ร้าน โดยส่วนมากโลโก้มักใส่ชื่อผู้ก่อตั้ง ประเภทของอาหารหรือความชอบส่วนตัว แล้วพลิกแพลงให้อ่านแล้วติดปาก จำง่ายด้วยตัวหนังสือสั้น ๆ
แบรนด์ต้องกำหนดกลุ่มเป้าหมายก่อนว่าเป็นช่วงวัยหรือกลุ่มอาชีพแบบไหน เมื่อเลือกกลุ่มเป้าหมายได้แล้ว การเลือกฟอนต์และสีของโลโก้จะเป็นตัวแปรถัดมาที่ช่วยให้ภาพชัดเจนยิ่งขึ้น เช่น ฟอนต์ไม่มีหัว เหมาะกับแบรนด์ที่ต้องการลูกค้าหลากหลาย เข้าถึง Gen Z จนถึง Gen Y
เช็กเทรนด์ความชอบของลูกค้า แต่สิ่งหนึ่งที่อยู่ได้นานที่สุดคือความเรียบง่าย แต่ดูดีมีสไตล์ เช่น โลโก้ Apple
สื่อภาพลักษณ์ของแบรนด์ เช่น ทรงกลมทำให้ดูน่ารัก สามเหลี่ยมทำให้ดูเป็นตัวร้าย สี่เหลี่ยมเพิ่มความแข็งแกร่งทำให้แบรนด์ดูมั่นคง
รูปทรงหรือคาแรกเตอร์ของโลโก้ ควรจะไปทางเดียวกันกับชื่อแบรนด์ เช่น โลโก้โค้ก
สื่ออารมณ์ กระตุ้นการซื้อ เช่น สีเหลืองดูน่ารักสดใสเหมาะกับแบรนด์เด็กหรือแบรนด์ที่ต้องการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายง่าย
สิ่งที่ทำให้ลูกค้าจำแบรนด์ได้ และเป็นที่นิยมคือความเรียบง่ายที่ไม่ต้องซับซ้อนจนเกินไป เช่น โลโก้แบรน์ชาไข่มุก BEARHOUSE
ลักษณะฟอนต์ให้อารมณ์ต่างกัน เช่น ฟอนต์ไม่มีหัว ให้ภาพลักษณ์น่าเอ็นดู เข้าถึงทุกวัย ต่างจากฟอนต์มีหัวที่มักใช้ในงานทางการหรือแบรนด์ที่ต้องการภาพลักษณ์จริงจัง ดูน่าเชื่อถือ เช่น โลโก้กระทรวง
ที่มา: AFTERKLASS,KBank