ปัญหาที่ทำให้เหล่าผู้ประกอบการขนาดเล็กตกม้าตาย และทำให้กิจการต้องสะดุดมากที่สุด และยังถูกละเลยมากที่สุด คือ เงินสดสำรองพร้อมใช้ขาดมือ หมุนเงินไม่ทัน หรือ ปัญหาสภาพคล่อง
เพราะส่วนใหญ่ผู้ประกอบการมักจะมุ่งความสนใจไปที่ ‘การขาย’ การพัฒนาสินค้าไปจนถึงการทำการตลาดซะมากกว่า จนหลาย ๆ ครั้งก็เกิดเหตุการณ์ขายดีจนขาดทุน ก็มี Case ให้เห็นกันจนชินตา
สภาพคล่อง คือ เงินสดสำรองสำหรับการใช้จ่ายในบริษัท อย่างเช่น ค่าจ้างพนักงาน ค่าวัตถุดิบในการผลิต และรวมไปถึงต้นทุนค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นเพื่อให้สินค้าและบริการสามารถผลิตออกมาได้ ซึ่งค่าใช้จ่ายส่วนนี้มักจะเป็นรายจ่ายที่ต่อเนื่อง ต้องจ่ายเป็นประจำทุกวัน หรือทุกเดือน ในขณะที่รายรับกลับไม่ได้เป็นเช่นนั้น จึงทำให้ธุรกิจมีโอกาสเจอปัญหาเงินสดขาดมือหรือขาดสภาพคล่องได้
อย่างเช่น ใครที่เป็นพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ที่มีการลงขายของผ่าน Platform ต่าง ๆ
เมื่อมีคำสั่งซื้อเข้ามา ก็ต้องทำการหีบห่อและจัดส่งของออกให้ลูกค้าได้เลย ถึงแม้ลูกค้าจะได้รับสินค้าเป็นที่เรียบร้อยแล้ว แต่กว่าจะได้รับเงินก็ต้องใช้เวลาอย่างน้อย 7 – 14 วันเลยทีเดียว
ฟังดูเหมือนจะเป็นเรื่องเล็กน้อย เหมือนไม่สำคัญอะไร แต่ถ้าหากผิดพลาดขึ้นมา อาจจะนำไปสู่ปัญหาที่ใหญ่โต จนทำให้ธุรกิจสะดุดได้ง่าย ๆ เลยล่ะ
ในสถานการณ์ที่ธุรกิจเข้าตาจน และต้องพึ่งพาสินเชื่อจากสถาบันการเงินขึ้นมา ต้องบอกว่าไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ เลย โดยเฉพาะกิจการขนาดเล็กจนถึงปานกลาง อย่าง SME และกลุ่ม Freelance อย่างแม่ค้าออนไลน์
เนื่องจากกิจการของคนกลุ่มนี้มีขนาดเล็ก และส่วนใหญ่มักจะมีอายุธุรกิจเพียงไม่นาน จึงทำให้มีความไม่แน่นอนของรายได้สูง ขาดความน่าเชื่อถือ และทำให้การได้รับอนุมัติสินเชื่อเป็นไปได้ยากมาก ๆ หรือถ้าผ่านก็ต้องเผชิญกับดอกเบี้ยสุดโหดอยู่ดี ขายของกันแทบตายเอาไปจ่ายดอกเบี้ยกันหมดเลยก็มี
นอกจากนี้ การขอสินเชื่อก็มักจะใช้เวลานาน และมีสารพัดขั้นตอนยิบย่อยที่มาพร้อมกับการขอหลักประกันสุดวุ่นวาย จึงทำให้กว่าจะยื่นกู้ กว่าจะรู้ผล บางครั้งก็อาจจะสายไปเสียเเล้ว
ดังนั้น สำหรับใครที่กำลังเริ่มต้นธุรกิจของตัวเองอยู่ จึงควรเตรียมความพร้อมเอาไว้อยู่เสมอ เพื่อลดความเสี่ยงการขาดสภาพคล่องให้ได้มากที่สุด โดยวิธีที่ง่ายที่สุดก็คือ การทำประมาณการณ์ (Cash Flow Projection) ล่วงหน้า อย่างน้อย 3 ถึง 6 เดือน เพื่อให้เห็นภาพในอนาคตที่ชัดเจนว่ากิจการเรามีโอกาสที่เสี่ยงที่เงินสดจะขาดมือทำให้เกิดปัญหาสภาพคล่องมากน้อยขนาดไหน
และอีกวิธีการหนึ่ง คือ การเจรจาต่อรองกับทั้งเจ้าหนี้ และลูกค้า โดยเจรจาขอเพิ่มระยะเวลา Credit Term จากเจ้าหนี้ เพื่อให้จ่ายเงินคืนเจ้าหนี้ช้าที่สุด ในขณะเดียวกันก็เจรจาขอลดระยะเวลา Credit Term จากลูกค้า เพื่อให้ได้รับเงินสดเร็วมากยิ่งขึ้น เพียงเท่านี้ก็จะช่วยลดช่วงเวลาที่กิจการขาดเงินสดในมือลงได้
นอกจากนี้ การเตรียมความพร้อมเรื่องสินเชื่อเพื่อเป็นวงเงินเสริมสภาพคล่องเอาไว้ด้วยก็สำคัญเช่นกัน เพราะเราไม่มีทางรู้ได้เลยว่าอนาคตข้างหน้ากิจการของเราจะต้องเผชิญเข้ากับอะไร
“สินเชื่อ ทีทีบี เอสเอ็มอี ไม่มีสะดุด” ช่วยให้สินทรัพย์เป็นเงินก้อน ใช้เสริมสภาพคล่องให้ธุรกิจได้
สำหรับเจ้าของกิจการท่านใดที่กำลังมองหาแหล่งเงินสดสำรองพร้อมใช้อยู่ แนะนำ “สินเชื่อ ทีทีบี เอสเอ็มอี ไม่มีสะดุด (ttb SME so smooth)” สินเชื่อที่เข้าใจหัวอกของเจ้าของกิจการ ที่มาช่วยให้การขอสินเชื่อ สะดวก ทันใจ และง่ายยิ่งขึ้น
“สินเชื่อ ทีทีบี เอสเอ็มอี ไม่มีสะดุด (ttb SME so smooth)” ขออนุมัติสินเชื่อได้ “สะดวก” ขึ้น ให้ความยืดหยุ่นเรื่องเอกสารชี้แจงรายได้ แค่พิสูจน์ว่าเป็นเจ้าของธุรกิจจริง มีความน่าเชื่อถือ และมีอยู่จริง เช่น รูปถ่ายกิจการ บิลซื้อขาย สัญญาจ้าง สมุดบันทึกซื้อ-ขาย และหลักฐานการเดินบัญชีธนาคาร และมีประสบการณ์ดำเนินธุรกิจขั้นต่ำเพียง 1 ปีก็กู้ได้
อนุมัติไว “ทันใจ” รับเงินภายใน 2 สัปดาห์ ให้เจ้าของกิจการได้ใช้เงินทันเวลา จะติดต่อผ่านสาขาหรือสมัครออนไลน์ก็ทำได้ เปิดรับหลักประกันหลากหลาย ขอสินเชื่อ “ง่าย” ได้ทั้ง ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง อาคารชุด ตึกแถว ที่ดินเปล่า ที่ดินเพื่อการเกษตร แล้วยังให้เลือกผ่อนสบาย ๆ สูงสุดถึง 10 ปี
สำหรับดอกเบี้ยเริ่มต้นสบาย ๆ เพียง MRR+2% เท่านั้น จะใช้เป็นเงินกู้ระยะยาวหรือเตรียมเป็นเงินกู้เบิกเกินบัญชี ที่เรียกกันว่า O/D เก็บไว้กรณีฉุกเฉินก็สามารถทำได้
ข้อมูลจาก : moneybuffalo