ภาษีนำเข้า คือ ภาษีที่รัฐเรียกเก็บจากผู้นำสินค้าเข้ามาในประเทศไทยโดยผ่านพิธีการศุลกากร ไม่ว่าจะนำเข้ามาทางน้ำ ทางบก หรือทางอากาศก็ตาม เพื่อนำไปพัฒนาประเทศ โดยกรมศุลกากรมีหน้าที่จัดเก็บภาษีขาเข้า-ขาออกและภาษีมูลค่าเพิ่ม ดังนั้น สินค้านำเข้าจะต้องเสียภาษีนำเข้า และภาษีมูลค่าเพิ่ม
โดยสินค้าแต่ละประเภทจะมีอัตราภาษีที่แตกต่างกันหรือเรียกว่าพิกัดภาษี เพื่อปกป้องการค้าภายในประเทศ ให้ราคาสินค้านำเข้าสูงกว่า ทำให้สินค้าที่เหมือนกันในประเทศยังพอดำเนินการต่อไปได้
👉เสื้อผ้า หมวก เข็มขัด รองเท้า เครื่องสำอาง น้ำหอม คิดภาษี 30%
👉นาฬิกาข้อมือ แว่นตา แว่นกันแดด คิดภาษี 5%
👉CD DVD อัลบั้มเพลง อัลบั้มคอนเสิร์ต ตุ๊กตา คิดภาษี 10%
👉กระเป๋าแบรนด์เนม คิดภาษี 20%
👉โทรศัพท์ กล้อง คีย์บอร์ด คอมพิวเตอร์ เมาส์ อุปกรณ์ไอทีต่าง ๆ แผงวงจรไฟฟ้า ได้รับการยกเว้นภาษีนำเข้า แต่ยังต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%
สูตรการคำนวณภาษีนำเข้าสำหรับหิ้วสินค้าเข้ามาเอง สามารถแบ่งเป็น 3 ส่วนคือ
ตัวอย่าง เช่น กรณีซื้อกระเป๋าชาเนล ราคา 30,000 บาท จากต่างประเทศเข้ามาในประเทศไทย แม้จะเป็นของใช้ส่วนตัว แต่มีมูลค่าเกิน 20,000 บาท จึงต้องนำมาคำนวณเพื่อเสียภาษีนำเข้าดังนี้
ราคาที่ใช้คิดภาษีนำเข้า คือ CIF ซึ่งประกอบด้วย C = ราคาสินค้า I = ประกันภัย และ F = ค่าขนส่ง ค่าใช้จ่ายในการขนส่งต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยมีสูตรการคิดภาษีนำเข้าสินค้า คือ
ภาษีนำเข้า = CIF x อัตราภาษีนำเข้า (พิกัดภาษีศุลกากร)
ภาษีมูลค่าเพิ่ม = (CIF + ภาษีนำเข้า) x 7%
กรณีที่บัญชีราคาสินค้าระบุรายละเอียดค่าประกันภัย และค่าขนส่งของครบแล้ว ให้ใช้ราคาตามบัญชีราคาสินค้านั้น แต่หากไม่มีรายละเอียดค่าประกันภัยและค่าขนส่งของ ให้บวกค่าประกันภัยอีกร้อยละ 1 ของราคา FOB และให้คิดค่าขนส่งของโดยใช้อัตราเฉลี่ยค่าขนส่งของตามพิกัดที่ศุลกากรอนุมัติให้ใช้สำหรับสินค้าเร่งด่วน และสำแดงข้อมูลรายละเอียดของสินค้า และประเภทพิกัด ตามชนิดของที่มีมูลค่ารวมมากที่สุดในใบตราส่งนั้น
ข้อมูลจาก : บัญชีอย่างง่าย,กรุงเทพธุรกิจ