สำหรับเกณฑ์เงินได้พึงประเมินขั้นต่ำที่ผู้มีเงินได้ ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษี แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ คนโสด และคนที่สมรสแล้ว
ในการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา มี 2 แบบ ได้แก่ แบบ ภ.ง.ด.90 และ ภ.ง.ด.91
1. คำนวณ “เงินได้สุทธิ”
การคำนวณหา “เงินได้สุทธิ” ที่ต้องเสียภาษี ต้องนำเงินได้พึงประเมินทุกประเภทรวมกันตลอดปีภาษี หักด้วยค่าใช้จ่าย และค่าลดหย่อนต่าง ๆ ตามที่กฎหมายกำหนด ตามสูตร ดังนี้
เงินได้สุทธิ = รายได้ทั้งปี – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน
เช่น รายได้ทั้งปี 600,000 บาท, ค่าใช้จ่าย 100,000 บาท, ค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท, ลดหย่อนเงินสมทบประกันสังคม 9,000 บาท
เงินได้สุทธิ : 600,000 – 100,000 – 60,000 – 9,000 = 431,000 บาท
2. เทียบอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
จากนั้น นำเงินได้สุทธิ เทียบกับอัตราภาษีเงินได้ ตามขั้นบันได (อัตราภาษีก้าวหน้าตั้งแต่ 5-35%) แล้วนำเงินได้สุทธิ คูณกับอัตราภาษีแต่ละขั้น เพื่อหาว่าต้องจ่ายภาษีเท่าไร หากเงินได้สุทธิไม่เกินปีละ 150,000 บาท ได้รับการยกเว้นภาษี
หมายความว่า ผู้ที่มีเงินเดือนไม่เกิน 25,833 บาท และไม่มีรายได้ส่วนอื่น ๆ ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เพราะเมื่อรวมรายได้ทั้งปีจะไม่เกิน 310,000 บาท หลังจากหักค่าใช้จ่าย 100,000 บาท และค่าลดหย่อนส่วนบุคคล 60,000 บาท จะเหลือเงินได้สุทธิไม่เกิน 150,000 บาท
รูปจาก : moneybuffalo
แต่หากรายได้เกินกว่านี้ จะเสียภาษีในอัตราดังนี้
กลับไปที่ตัวอย่างข้างต้น รายได้สุทธิ 431,000 บาท เทียบอัตราภาษีเงินได้จะอยู่ที่ อัตรา 10% สูตรคำนวณภาษีที่ต้องจ่าย ได้แก่
ภาษีที่ต้องจ่าย = (เงินได้สุทธิ – เงินได้สุทธิสูงสุดของขั้นก่อนหน้า) x อัตราภาษี + ภาษีขั้นบันไดก่อนหน้าสูงสุด : (431,000 – 300,000) x 10% + 7,500 บาท
ภาษีที่ต้องจ่าย = 20,600 บาท
ปกติแล้วจะสามารถยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้ ระหว่างวันที่ 1 มกราคม – 31 มีนาคม 2566 แต่หากยื่นแบบแสดงรายการภาษีผ่านทางอินเทอร์เน็ตที่เว็บไซต์กรมสรรพากร www.rd.go.th หรือยื่นผ่าน Rd smart tax application ทางโทรศัพท์มือถือ จะขยายเวลาการยื่นแบบออกไปอีก 8 วัน