สัปดาห์ที่แล้วข่าวที่หลายคนพูดถึงกันมาก ๆ คงหนีไม่พ้นเรื่องที่ค่าเงินบาทไทยอ่อนค่าพุ่งทะลุถึง 36 บาท (สูงสุดอยู่ที่ 36.32 บาท) ซึ่งปัจจัยที่ทำให้ค่าเงินอ่อนค่าลง สาเหตุหลัก ๆ มาจาก
- อัตราดอกเบี้ยในไทยยังอยู่ในระดับที่ต่ำ
- ค่าเงินดอลลาร์ที่แข็งค่าขึ้นเนื่องจากมีการปรับดอัตราดอกเบี้ยขึ้น
- การท่องเที่ยงที่ยังฟื้นตัวไม่เต็มที่ มีต้นทุนนำเข้าที่สูง
- มีอัตราเงินเฟ้อในระดับที่สูง (อัตราเงินเฟ้อไทยเพิ่มขึ้น 7.1 % ซึ่งสูงสุดในรอบ 14 ปี)
แล้วส่งผลกระทบต่อกลุ่มคนที่เกี่ยวข้องอย่างไรบ้าง ? วันนี้ FinSpace จะมาสรุปให้ฟังครับ . .

ค่าเงินบาทอ่อนค่า คือ การที่เราใช้เงินบาทในจำนวนที่มากขึ้นในการแลกเงินสกุลต่างประเทศในจำนวนที่เท่าเดิม ตัวอย่างเช่น ต้องใช้เงินบาท 36 บาท ในการแลกลี่ยน 1 ดอลล่าร์ (อ้างอิงอัตราการแลกเปลี่ยนวันที่ 7 ก.ค.65)
กลุ่มคนที่ได้ประโยชน์ ?
- ผู้ที่ทำธุรกิจส่งออก รายได้ที่ได้เป็นเงินสกุลต่างประเทศ นำกลับแลกแป็นเงินบาทได้เยอะขึ้น
- คนที่อยู่และทำงานต่างประเทศ รายได้เป็นเงินสกุลต่างประเทศ สามารถแลกเป็นเงินบาทได้เยอะขึ้น
- ธุรกิจท่องเที่ยวที่รับเงินเป็นสกุลต่างประเทศ สามารถแลกเป็นเงินบาทได้เยอะขึ้น
กลุ่มคนที่เสียประโยชน์ ?
- ผู้ที่นําเข้าสินค้า ต้นทุนการนําเข้าสินค้าที่สูงขึ้น เพราะราคาสินค้าจากต่างประเทศแพงขึ้น
- ประชาชน ซื้อสินค้าและบริการจากต่างประเทศแพงขึ้น
- คนที่ลงทุน นําเข้าสินค้าที่มีต้นทุนแพงขึ้น
- คนเป็นหนี้กับต่างประเทศ มีภาระหนี้เพิ่มขึ้น เพราะใช้เงินบาทในการจ่ายหนี้สกุลเงินต่างประเทศมากขึ้น
ข้อมูลจาก : finspace